วศ.ทุ้ม10ล้านร่วมมือ ม.อ.ยกระดับสินค้าOTOPภาคใต้
รายละเอียดกิจกรรม              วศ. ทุ่มงบ 10 ล้าน จับมือ มอ. เปิดโครงการ ยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP ในพื้นที่ภาคใต้ สู่การรับรองมาตรฐาน กรมวิทยาศาสตร์บริการ(วศ.)
ร่วมกับศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดโครงการยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP
ในพื้นที่ภาคใต้สู่การรับรองมาตรฐาน มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการ OTOP ภาคใต้ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน
OTOP ให้สามารถยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า นางสาวเสาวณี มุสิแดง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นประธานเปิดโครงการ
โครงการยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP ในพื้นที่ภาคใต้ สู่การรับรองมาตรฐาน ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ณ. โรงแรม บุรีศรีภู อาเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา โดยร่วมกับศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก คณะอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยเชิญผู้ร่วมงาน
ที่เกี่ยวข้องหลายฝุายในพื้นที่ภาคใต้ อาทิ ผู้แทนจาก อุตสาหกรรมจังหวัด พัฒนาชุมชน สาธารณสุขจังหวัด เกษตรจังหวัด เครือข่ายผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน
OTOP ภาคใต้ โดยอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการจะนาเสนอที่มาของโครงการและประโยชน์ที่จะได้รับ เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน OTOP
ให้สามารถยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า OTOP โดยมุ่งเปูา 100 รายในพื้นที่ภาคใต้ และภายหลังจากการเสร็จสิ้นโครงการจะมีการผลักดันให้สินค้า
OTOP ในพื้นที่ภาคใต้ ยื่นขอการรับรอง ไม่น้อยกว่า 300 ผลิตภัณฑ์ ภายใต้งบประมาณทั้งสิ้น 10 ล้านบาท และโครงการดังกล่าว ยังรวมไปถึงการจัดฝึกอบรม
สัมมนาถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านมาตรฐานการผลิตขั้นต้น(Primary GMP) และมาตรฐาน ต่างๆ แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน OTOP อีกไม่น้อยกว่า 1,200 คน
ทั่วพื้นที่ภาคใต้ ทั้งนี้สินค้าหนึ่งตาบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ประเภทผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป เป็นสินค้าที่หลายชุมชนนิยมผลิต ตามกรรมวิธีการผลิตที่สืบทอดต่อกันมา
ซึ่งมักเป็นการผลิตในระดับครัวเรือน และเป็นสินค้าที่นักท่องเที่ยวต่างถิ่นนิยมซื้อไปเป็นของฝากของที่ระลึก ด้วยความมีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และบางผลิตภัณฑ์
ได้พัฒนาเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ จึงทาให้สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม เป็นสินค้าที่มีความสาคัญต่อเศรษฐกิจชุมชนและประเทศในระดับสูง อย่างไรก็ตาม
ปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการในระดับวิสาหกิจชุมชน มักพบว่าคุณภาพสินค้าในการผลิตแต่ละรอบมีคุณภาพไม่คงที่ และไม่ได้ตามมาตรฐานด้านสุขอนามัย
และความปลอดภัยระดับสูง เนื่องจากผู้ประกอบการยังขาดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการผลิต ทาให้เกิดปัญหาเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์
ส่งผลต่อคุณภาพ และอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการขอการรับรองมาตรฐานของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปในระดับวิสาหกิจชุมชน มักประสบปัญหาหลัก
คือการไม่มีโรงเรือนผลิตที่แยกเป็นสัดส่วนจากบริเวณที่พักอาศัย จึงทาให้ไม่ผ่านมาตรฐานทางด้านอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์บริการ เห็นความสาคัญในการนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างความเข้มแข็งส่งเสริมขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ และการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน สินค้า OTOP
ให้สามารถยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยสินค้า ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 จึงร่วมกับศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออก คณะอุตสาหกรรมเกษตร
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มุ่งนาเทคโนโลยีไปปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการสังคม รวมทั้งการตรวจสอบคุณภาพสินค้า OTOP เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
ซึ่งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อการส่งออกคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพและมีผลงานด้านการพัฒนาวิสาหกิจ
ชุมชน มีความพร้อมของห้องปฏิบัติการทดสอบเคมีและจุลชีววิทยาที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน รวมทั้งเป็นห้องปฏิบัติการเครือข่ายที่เข้าร่วมกิจกรรมทดสอบความชานาญ
กับกรมวิทยาศาสตร์บริการอย่างต่อเนื่อง และมีโรงงานต้นแบบ ที่มีเครื่องจักรทันสมัย มีการออกแบบตามหลักสุขลักษณะที่ดีในการผลิต
(Good Manufacturing Practice; GMP) พร้อมทั้งมีบุคลากรที่มีทักษะในการผลิตตามหลัก GMP และมาตรฐานฮาลาล มีความพร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยง
ให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจ อันจะส่งผลให้โครงการนี้ประสบผลสาเร็จ .....................................................................................................
 
รายการรูปภาพ
แสดงความคิดเห็น :    
 
ในการแสดงความคิดเห็นจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบก่อน    
ความคิดเห็น